รายการลดหย่อนภาษี 2564 ขั้นพื้นฐานที่ควรรู้ มีอะไรบ้าง?

สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 มีอะไรบ้าง เตรียมพร้อมให้ดีก่อนยื่นภาษี

‘ภาษี’ คือภาระที่ประชาชนมีหน้าที่ต้องนำส่งให้กับภาครัฐตามกฎหมายที่กำหนด เพื่อเป็นการสนับสนุนรัฐและกิจการของรัฐ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของเงินหรือไม่ก็ได้ และเมื่อมีการจ่ายภาษีไปแล้วผู้เสียภาษีอาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนกลับมาโดยตรงจากภาษีที่เสียไป เพราะหากผู้เสียภาษีได้รับผลประโยชน์โดยตรงจะไม่ถูกเรียกว่าภาษี แต่จะเรียกว่าค่าธรรมเนียมมากกว่า

โดยภาษีเป็นสิ่งที่บุคคลธรรมดาที่มีรายได้รวมไม่ต่ำกว่า 120,000 บาท/ปี จะต้องยื่นเป็นประจำทุกปี แต่ทั้งนี้จะต้องเสียภาษีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิและหักลดหย่อนภาษีทั้งหมด เมื่อมีรายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จึงจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่หากมีรายได้เกินจากที่กล่าวมาจะต้องเสียภาษีในอัตราเริ่มต้นที่ 5% (สูงขึ้นตามอัตราภาษีแบบขั้นบันได)

เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนยิ่นภาษี 2564
เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนยิ่นภาษี 2564

ในส่วนของมนุษย์เงินเดือนรวมไปถึงผู้มีรายได้นั้น จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพียงแค่ต้องรวบรวมเอกสารให้ถูกต้องและครบถ้วน จากนั้นนำไปยื่นที่กรมสรรพากรหรือยื่นแบบออนไลน์ ก็จะทำให้เราเสียภาษีน้อยลงนั่นเอง วันนี้เราจึงได้รวบรวมตัวอย่างรายการที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีฉบับคร่าว ๆ มาฝากทุกคนกัน เพื่อให้ทุกคนมีเวลาเตรียมตัวในการลดหย่อนภาษีในครั้งต่อไป

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และครอบครัว


  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท : สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีรายได้แต่เลือกคำนวณภาษีพร้อมกันจะได้รับสิทธิลดหย่อนทันที
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร : ลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี
  • ค่าลดหย่อนบุตร : สิทธิลดหย่อนภาษีบุตรได้คนละ 30,000 บาท แต่จะต้องเป็นบุตรโดยชอบตามกฎหมายจึงจะสามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่จำกัดจำนวนคน และบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะคนที่มีชีวิตอยู่)
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา : สำหรับเลี้ยงดูพ่อแม่ตัวเอง และพ่อแม่คู่สมรสที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (รายได้ไม่เกิน 30,000 บาท) คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน โดยสิทธิลดหย่อนบิดามารดาใช้ได้ครั้งเดียว เพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องระบุลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองว่าลูกคนไหนจะเป็นคนเลี้ยงดู
  • ค่าลดหย่อนผู้พิการ หรือคนทุพพลภาพ : หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อคน โดยมีเงื่อนไขว่าผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวคนพิการ พร้อมหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ
รายการลดหย่อนภาษี 2564 ขั้นพื้นฐาน
รายการลดหย่อนภาษี 2564 ขั้นพื้นฐาน

ค่าลดหย่อนประกัน เงินออม และการลงทุน


  • เงินประกันสังคม ลดหย่อนภาษีตามจริงที่จ่ายสูงสุดไม่เกิน 7,350 บาทต่อปี (เนื่องจากปี 2564 มีการปรับลดเงินสะสมประกันสังคม)
  • เบี้ยประกันชีวิต สามารถหักได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีตนเอง ตามจริงที่จ่ายได้ไม่เกิน 15,000 บาท กรณีทำประกันสุขภาพควบคู่กับประกันชีวิตจะต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
  • เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาทจะได้รับการยกเว้น
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ให้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินจำนวน 13,200 บาท
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท/ปี
  • เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเมื่อนำไปรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ RMF จะต้องรวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท
  • กองทุน RMF (เพื่อการเลี้ยงชีพ) หักภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท

นอกจากนี้ยังมีค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์, ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค, ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ฯลฯ มาเป็นเอกสารสำคัญที่สามารถยื่นการลดหย่อนภาษีประจำปีได้อีกด้วย รู้แบบนี้แล้วอย่าลืมเตรียมเอกสารให้พร้อมและครบถ้วนทุกครั้ง เพื่อการเสียภาษีที่น้อยลงนะคะ

Published
Categorized as tax

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *